วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สื่อการสอนความหมายของสื่อการสอน


สื่อการสอนสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php

ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
- ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
- ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
- ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
-นำอดีตมาศึกษาได้
- นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

ประเภทของสื่อการสอน
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ที่มา: http://gotoknow.org/blog/Ok17081984/52408

การออกแบบสื่อการสอน
การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

หลักการออกแบบสื่อ
1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย

องค์ประกอบของการออกแบบ
1.จุด ( Dots )
2.เส้น ( Line )
3.รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4.ปริมาตร ( Volume )
5.ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7.สี ( Color )
8.น้ำหนักสื่อ ( Value )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

การใช้สื่อการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
ที่มา: http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

การวัดและการประเมินสื่อการวัดผลของสื่อและวิธีการ
หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้การประเมินการใช้สื่อการสอน
1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ เพื่อดูว่าสิ่งต่าง ๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามแผนหรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไป
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

วิธีการสร้างบล็อก










สร้างเว็บบล็อก(Blogger)

1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้

2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎเป็นรูปเว็บบล็อก

3. ให้ใส่รายละเอียด-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง-คลิกดำเนินต่อไป

4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้ไปหรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

5.จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

ต่อไปกดเริ่มต้นการส่งบทความทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Google AdSense ยังไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย แต่ในอนาคตคาดว่า ทาง Google AdSense จะยอมรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย ดังนั้น ควรนำเว็บบล็อกที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษมาทำการสมัครให้ผ่านก่อน โดยไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ โดยคุณควรจะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
http://en.wikipedia.org/wiki/Main_page
http://www.goarticles.com/
http://www.contentmart.com/
http://www.superfeature.com/
http://www.freshcontent.net/

ถึงตอนนี้คุณก็จะมีบล็อกส่วนด้วยไว้ทำเงินกับกูเกิลอย่าลืมจดจำคือ

1.อีเมลล์ของ gmail

2.URL เว็บบล็อก เช่น http://makemoneynetonline.blogspot.com/

การเรียนโปรแกรม photoshop
Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้
ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือWidth : กำหนดความกว้างHeight :กำหนดความสูง(ควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm )Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode : กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสี ก็คือโหมด CMYK
C = Cyan สีฟ้า
M= Mageta สีม่วงแดง
Y=Yellow สีเหลือง
K=Black สีดำ
Content กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสงการเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้ ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการการตัดภาพ การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselect เมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน
การทำภาพเพิ่ม
1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่ 2
2. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom
3. กด Shift ย่อภาพที่มุม4. Ctrl +T5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหาย
ขั้นตอนการตกแต่งภาพ
1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน
2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย
3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ
4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลง
การแก้ไขงาน ทำได้ 2 วิธี คือ
1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย
2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไขการตัดพื้น
การใช้ Polygonal Lasso Tool คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่งการบันทึกงาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้
1.1 เลือกเมนู File > Save as
1.2 กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
1.3 กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd
2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่
3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)
การใช้ Filter
เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ

ตัวอย่างการทำภาพ filter จากโปรแกรม photoshop

Glowing Edges
Stamp

Drak Strokes


Plaster







Graphic Pen















Emboss

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก


---สื่อวัสดุกราฟิก" กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกันในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้

1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น

1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)

1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)

1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)

1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)

1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)

2. แผนภาพ (Diagrams)

3. แผนภูมิ (Charts) แบ่งออกเป็น

3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)

3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)

3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)

3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)

3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)

3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)

3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)

3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)

4. ภาพโฆษณา (Posters)

5. การ์ตูน (Cartoon)

6. ภาพวาด (Drawing)

7. ภาพถ่าย (Photography)

8. ภาพพิมพ์ (Printing)

9. สัญลักษณ์ (Symbols)

หลักการออกแบบ
การออกแบบที่ดีควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. การจัดองค์ประกอบดี วางตำแหน่งทิศทางของเส้นต่าง ๆ ให้สมดุล มีการให้สี แสง เงาที่ดี มีจุดสนใจโดยเน้นจุดสนใจให้เด่นชัด
2. สื่อความหมายได้ชัดเจน เมื่อผู้ดูดูแล้วจะได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย
3. มีความตัดกันและคมชัด ภาพที่เน้นจุดสนใจจะทำให้ภาพแลดูน่าสนใจ มากกว่าภาพที่ไม่มีการเน้นส่วนสำคัญซึ่งจะทำให้ภาพดูไม่มีมิติ
4. ใช้วัสดุให้เหมาะสม โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ในการออกแบบเพื่อที่จะได้สื่อความหมายให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ควรมีการวางแผนหรือวางโครงร่างคร่าว ๆ ก่อน
หลักการที่ทำให้การออกแบบสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้ดูมีหลักการดังต่อไปนี้
1. ความง่าย ( Simplify ) หมายถึง ง่ายต่อการสื่อความหมายสามารถเข้าใจได้ทัน ง่ายในการอ่าน และง่ายต่อการนำไปใช้
2. เป็นเอกภาพ ( Unity ) หมายถึง มีความกลมกลืนกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง สี หรือช่องว่าง
3. การเน้น ( Emphasis ) หมายถึง ออกแบบให้มีแนวความคิดเดียวหรือจุดสนใจเดียว
4. ความสมดุล ( Balance ) หมายถึง น้ำหนักทางซ้ายและขวา จะเท่า ๆ กัน ซึ่งความสมดุลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
4.1 ความสมดุลตามแบบ ( Formal balance ) คือลักษณะทั้งสองข้างจะเท่ากัน
4.2 ความสมดุลไม่ตามแบบ,สมดุลด้วยสายตา ( Informal balance ) คือลักษณะทั้งสองข้างจะไม่เหมือนกัน แต่ความรู้สึกเหมือนสมดุลกัน เช่น ภาพใหญ่สีอ่อน จะสมดุลกับภาพเล็กสีเข้ม ในการออกแบบภาพประกอบการสอน การออกแบบแผ่นใส หรือการจัดองค์ประกอบภาพ สามารถใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นแนวทางได้
สิ่งที่จะช่วยให้การออกแบบเร้าความสนใจผู้เรียนยิ่งขึ้น คือ
1. เส้น ( Line ) ช่วยนำสายตาผู้ดู
2. รูปร่าง ( Shape ) ช่วยเร้าความสนใจเบื้องต้น
3. พื้นผิว ( Texture ) เพื่อเน้นถึงความแตกต่างและช่วยให้เกิดมิติ
4. สี ( Color ) ช่วยเพิ่มความเหมือนจริง ความแตกต่าง เน้นสิ่งที่ต้องการ ตลอดจนการแสดงออกถึงอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี
5. ช่องว่าง ( Space ) เพื่อความเป็นระเบียบ และถ้าเป็นตัวอักษรช่องว่างจะช่วยให้ง่ายต่อการอ่าน

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550


ตัวอย่างวัสดุกราฟิก







สื่อวัสดุกราฟิก "สีไม้"

Environment
ในการสอนจะสอนคำศัพท์เกี่ยกับ Environment
Vocabulary

1. valley หุบเขา
2. hill เนินเขา
3. mountain ภูเขา
4. canal ลำคลอง
5. field ทุ่งนา
6. irrigation ชลประทาน
7. river แม่น้ำ
8. dam เขื่อน
9. human มนุษย์
10. cave ถ้ำ
11. tree ต้นไม้
12. animal สัตว์
13. land พื้นดิน

Use the vocabulary of environment in this picture to make sentences.

Ex. - The house is on the hill.

- The monkeys live in the mountain.

- There are a lot of trees.

* สอนช่วงชั้นที่ 3 มัธศึกษาปีที่ 1-3

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้






สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวิชานี้ คือ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการเขียนเส้น การเขียนภาพ และการลงสีภาพวาด กล้าที่จะวาดภาพด้วยปากกาโดยที่ไม่ต้องมีการร่างภาพไว้ก่อน เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Power point และการสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม Photoshop และการสร้างBloggerของตนเอง เพื่อเก็บข้อมูล ในการอบรม และการเรียนวิชานี้เป็นประโยชน์อย่างมากที่จะนำความรู้ไปใช้สอนนักเรียนในอนาคต